Pink Hair Girl, Cute

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561

Recorded Diary 7

Friday  21 September 2018
Time 08:30 - 12:30 o'clock

💗  The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

               อาจารย์จินตนาได้แจกแผ่นความรู้ของ บ้านวิทยาศาสตร์ให้นักศึกษาคนละเรื่อง และให้อ่านพร้อมกับสรุปใส่กระดาษ โดยเวลาสรุปให้ตั้งคำถามให้ครงทั้ง 5 หรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้ครบทุกหัวข้อ ซึ่งเรื่องที่หนูได้เกี่ยวกับ

เรื่องไฟฟ้า ( เปิดปิด! สวิตช์มีหน้าที่อะไร ) 


แนวคิดหลักการของการทดลอง

               สวิตช์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อหรือตัวตัดวงจรไฟฟ้าการทำให้หลอดไฟฟ้าสว่างเป็นการเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้าให้กระแสไฟฟ้าครบวงจร การที่หลอดไฟดับเนื่องจากสวิตช์ไฟตัดขาดการเชื่อมต่อของวงจร

ปัญหา

          1. เราใช้อะไรมาทำสวิตช์ได้บ้าง

สมมติฐาน

          1. ถ้านำตัวนำไฟฟ้ามาแตะสวิตช์จะเกิดอะไรขึ้น

การทดลอง

          1. ตัดกระดาษลูกฟูกขนาด 5 x 5 เซนติเมตรและดัดลวดเสียบกระดาษให้โค้งงอ
          2. ใช้หมุดยึดลวดเสียบกระดาษกล่อง โดยให้เคลื่อนไปมาได้
          3. ต่อสวิตช์เข้าไปในวงจรไฟฟ้า โดยใช้ตัวหนีบปากจระเข้ หนีบตัวหนีบกับขาหมุดหัวแบนใต้กระดาษลูกฟูก
         4. นำโลหะที่เป็นตัวนำไฟฟ้ามาต่อกับสวิตช์ สวิชตช์จะเป็นตัวกำหนดการติดและดับของไฟ 
         5. เลื่อนลวดเสียบไปมาให้แตะและไม่แตะกับหัวหมุด สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

สรุป

         สวิตช์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตัดต่อวงจรไฟฟ้า  สวิตช์จะตัดการเชื่อมต่อระหว่างขั้วลบและขั้วบวก  ทำให้กระแสไฟฟ้าไม่ไหล 









               💦หลังจากนั้นอาจารย์ให้แกนกระดาษทิชชูมาคนละ 1 ชิ้น และให้ประดิษฐ์สิ่งของที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาคนละ 1 ผลงานพร้อมกับบอกประโยชน์ของสิ่งที่ประดิษฐ์และเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร

ซึ่งตอนนั้นหนูเลือกที่จะทำ รถใช้ลมเคลื่อนที่


อุปกรณ์

  • แกนกระดาษทิชชู
  • หลอดดูน้ำ
  • ฝาขวดน้ำ
  • ไม้เสียบลูกชิ้น
  • ลูกโป่ง
  • สก็อตเทป
  • กรรไกร
  • กระดาษสีสวย

วิธีทำ

  1. ห่อแกนกระดาษทิชชูด้วยกระดาษสีสดใส
  2. ใช้สก็อตเทปติดไม้เสียบลูกชิ้นกับฝาน้ำ
  3. นำไม้เสียบทั้งสองอัน ใส่ลงไปในหลอดดูดน้ำ
  4. นำไปเสียบกับฝาขวดน้ำทั้งสองด้าน (ทำเป็นล้อรถ 4 ล้อ)
  5. ทำเสร็จ นำไปติดที่แกนกระดาษทิชชู
  6. ติดตรงกลางด้วยสก็อตเทป
  7. เสียบลูกโป่งไว้ที่ปลายหลอด แบบโค้งงอ อีกอันหนึ่งที่ดตรียมไว้
  8. ผูกให้แน่น
  9. ติดหลอดพร้อมลูกโป่งด้านบนรถ
  10. เป่าลูกโป่ง
  11. ปล่อยรถวางบนพื้น
  12. รถจะเคลื่อนที่ได้เอง ด้วยแรงลูกโป่งด้านบน





💗  Skills (ทักษะ)
       
                    กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เราจะต้องตั้งคำถามให้ได้ และเข้าใจง่ายให้มากที่สุด เพราะการสอนเด็กควรใช้คำถามที่เข้าใจง่ายและกระชับ  

💗  Apply (การนำมาประยุกต์ใช้)


                   สามารถนำมาประยุกต์ใช้เกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์ให้เด็กมีความรู้และเข้าใจในหลักการของวิทยาศาสตร์และวิธีการแก้ปัญหาในชั้นเรียน หรือ ระหว่างการเรียน


💗 Technique (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

                   - ให้นักศึกษาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

                   - การประยุกต์ของชิ้นอื่นให้เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์


💗  Assessment (ประเมิน)

                    our self (ตัวเอง) : ตั้งใจทำงาน และตั้งใจฟังอาจารย์เวลาสอน เข้าเรียนตรงเวลา


                    Friend (เพื่อน) : ทุกคนตั้งใจทำงานและทำหน้าที่่ของตนเองได้ดี คือ การเป็นผู้เรียนที่ดี


                    Teacher (อาจารย์) : สอนให้เราแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และอาจารย์จะคอยให้คำแนะนำระหว่างที่เราทำไม่ได้หรือไม่สามารถแก้ปัญหาเองได้


                    Classroom (ห้องเรียน) : อยากให้มีโต๊ะที่เขียนหนังสือ เวลาทำงานจะได้สะดวกในการทำ




วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561

Recorded Diary 6


Friday  14 September 2018
Time 08:30 - 12:30 o'clock


💗  The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)
               
                     สัปดาห์นี้อาจารย์จินตนาได้พูดเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมที่จะไปจัดที่ศูนย์วิทยาศาสตร์และได้ให้นักศึกษาอธิบายงานของแต่ละกลุ่มและสิ่งประดิษฐ์ที่จะทำในแต่ละกลุ่มและได้พูดเกี่ยวกับ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ปัญหา     ⇨     สมมุติฐาน     ⇨     ทดลอง     ⇨     ข้อมูล     ⇨     สรุปผล      

5E
💗💗💗💗
1. สร้างความสนใจ
2. สำรวจและค้นหา
3. อธิบาย ข้อสรุป
4. ขยายความรู้
5. การประเมิน

เหมาะสำหรับ "สร้างเสริมประสบการณ์"

💗 Skills (ทักษะ)

          การตอบคำถาม การใช้คำถามที่เน้นให้เด็กตอบได้ทุกคนและเปิดโอกาสให้เด็กกล้าแสดงออก

💗  Apply (การนำมาประยุกต์ใช้)

          การนำมาประยุกต์ใช้กับวิจัย ทำสรุปต่างๆ

💗  Assessment (ประเมิน)

            our self (ตัวเอง) :  มีความใส่ใจในการเรียนและจดบันทึก
            Friend (เพื่อน) :  ทุกคนมีความตั้งใจในการเรียน และช่วยกันหางานวิจัย
            Teacher (อาจารย์) วันนี้อาจารย์ใจดีมาก และอารมณ์ดี สอนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจมาก
            Classroom (ห้องเรียน) :  สะดวก สบาย และเขียนหนังสือง่าย