Pink Hair Girl, Cute

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Recorded Diary 15


Friday  23 November 2018
Time 08:30 - 12:30 o'clock


💗 The Knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

               วันนี้อาจารย์จินตนา ได้ให้นักศึกษาดูและศึกษาวิธีการทำโปรแกรม Biteable เกี่ยวกับการนำเสนอรูปกิจกรรมต่างๆที่ได้ทำมา



🙋 ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรม Biteable 🙋

               Biteable เป็นโปรแกรมสำหรับการสร้างแอนิเมชัน รุ่น Lightweight บางคนถึงขนาดบอกว่าเป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่ายมากที่สุดในบรรดาโปรแกรมสร้างงานแอนิเมชันเลยก็ว่าได้ ซึ่งหากใครได้ลองใช้งานก็จะรู้ว่าโปรแกรม Biteable นี้ใช้งานได้อย่างง่ายดายมากจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างวีดีโอกราฟิก, การสร้างวีดีโอเพื่อนำเสนอ, การสร้างสไลด์โชว์, การสร้างวีดีโอโฆษณา รวมถึงการสร้าง Logo Animations สิ่งต่างๆ เหล่านี้สามารถสร้างขึ้นมาได้จากความสามารถของโปรแกรม Biteable ล้วนๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง วีดีโอ การไลฟ์แอ็คชั่น ทำคลิปเพลง ก็สามารถทำได้แบบง่ายดาย มีเทมเพลตให้เลือกอย่างหลากหลายตามความเหมาะสมว่าอยากได้เทมเพลตประเภทไหนไปใช้งานอย่างไรบ้าง เรียกว่ามีเทมเพลตเป็นร้อยๆ เทมเพลตให้เอาไปใช้งานได้อย่างเต็มที่เลย การใช้งานโปรแกรม Biteable ยังสามารถเพิ่มเนื้อหาที่เราต้องการเข้าไปได้อีกด้วย อาทิ ข้อความที่โดนใจแล้วต้องการใส่เข้าไปให้ดูน่าสนใจ, รูปภาพสวยๆ ที่หาเจอมาแล้วเหมาะกับเรื่องราว, สีสันใหม่ๆ หรือแม้แต่เสียงที่ฟังแล้วรู้สึกเข้ากับตัวงานของเราก็ใส่เข้าไปได้ด้วยเช่นเดียวกัน ที่สำคัญราคาของโปรแกรม Biteable ยังไม่แพงอย่างที่คิดอีกต่างหาก เรียกว่าสำหรับมือใหม่ที่ต้องการสร้างงานแอนิเมชันดีๆ การเลือกใช้งานโปรแกรม Biteable ถือว่าคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้รับกลับมาอย่างแน่นอน

แหล่งที่มา Biteable


 👉อาจารย์จินตนาจึงได้มอบหมายงานเกี่ยวกับการสร้าง Logo Animations นี้จึงให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มไปนำภาพกิจกรรมการทดลองเรื่องวิทยาสาสตร์มาใส่ใน Logo Animations เพื่อเป็นการฝึก ลองปฎิบัติ



👉ต่อมา อาจารย์ได้ถามถึงสื่อที่นักศึกษาได้ทำในวิชานวัตกรรมให้นำมาเชื่อมโยงเข้ากับวิชาวิทยาศาสตร์ ว่าสื่อนวัตกรรมของแต่ละกลุ่มสอดคล้องกับเรื่องใดในวิทยาศาสตร์
          ซึ่งกลุ่มของหนู สื่อนวัตกรรม มีความสอดคล้องกับเรื่อง แรงโน้มถ่วง เวกเตอร์ 



















          นวัตกรรมชิ้นนี้สร้างโดยยึดนวัตกรรม แบบเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วและนำมาพัฒนาปรับปรุงให้มีความแตกต่างจากเดิมเพียงเล็กน้อย แต่ยังสามารถใช้สื่อนวัตกรรมนี้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งผู้จัดทำเน้นพัฒนาในเรื่องของด้านคณิตศาสตร์ การคาดคะเน ความน่าจะเป็นและจำนวนนอกจากนี้สื่อนวัตกรรมชิ้นนี้ยังสามารถนำไปบูรณการกับวิชาวิทยาศาสตร์ได้ ในเรื่องของแรงโน้นถ่วง และทิศทาง (เวกเตอร์)
💗 Skills (ทักษะ)

               การคิดวิเคราะห์ การนำนวัตกรรมมาเกี่ยวข้องกับวิชาต่างๆ เป็นการบูรณาการที่ส่งผลให้เกิดสื่อขึ้นมา และสื่อจะต้องสามารถตอบโจทย์ตามพัฒนาการได้


💗 Apply (การนำมาประยุกต์ใช้)

                สื่อมีการบูรณาการอยู่ในหลายศาสตร์ เช่น เรื่อง การคาดคะเน อยู่ในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง แรงโน้มถ่วง เวกเตอร์ อยู่ในวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งถ้านำสื่อชิ้นนี้ไปทดลองเล่นกับเด็กจะทำให้เกิดการพัฒนาครบทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา

💗  Technique (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

               การนำเทคโนโลยีในรูปแบบที่ใหม่ และสามารถนำมาใช้ได้จริงในการเรียนการสอนใชห้องเรียน สามารถเผยแพร่ทำให้นักศึกษารู้จักและเป็นตัวเลือกในการใช้สอน หรือนำเสนองานในวิชาต่างๆ

💗  Assessment (ประเมิน)

               our self (ตัวเอง) : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงตามเวลา ตอบคำถามและให้ความร่วมมือในห้องเรียน
               Friend (เพื่อน) ทุกคนตั้งใจฟังและจดบันทึกการเรียน พร้อมทั้งช่วยกันตอบคำถามอาจารย์

               Teacher (อาจารย์) เน้นการมีส่วนร่วม  สอนมีความเข้าใจ  และใส่ใจนักศึกษา

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Recorded Diary 14



Friday  16 November 2018
Time 08:30 - 12:30 o'clock


💗 The Knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

               วันนี้อาจารย์ให้ส่งใบงานแผนผังความคิด เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองได้ทำ และพูดถึงกิจกรรมการทดลองที่ผ่านมาที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมว่าแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไรเมื่อได้ลงไปทดลองการสอน นอกจากนี้อาจารย์ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องของการทดลองในแต่ละกลุ่มเพิ่มเติม ว่ายีงขาดตกบกพร่องในเรื่องใดบ้าง พร้อมชี้แนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

รอบที่1 
     แผนผังเรื่องแสง 

รอบที่ 2
     แผนผังเรื่องแสง



⏩ นอกจากนี้ อาจารย์ยังให้แต่ละกลุ่มเลือกเรื่องในแผนผังความคิด ของเพื่อนในกลุ่มมาทำเป็นแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก จำนวน 5 วัน และเพื่อนๆก็ได้ขอคำแนะนำพร้อมรายละเอียดในการทำแผนการจัดประสบการณ์ในครั้งถ้ดไป




⇨⇨ แผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง พืช ⇦⇦


⇨⇨ แผนการจัดประสบการณ์วันจันทร์ ⇦⇦



⇨⇨ แผนการจัดประสบการณ์วันอังคาร ⇦⇦



⇨⇨ แผนการจัดประสบการณ์วันพุธ ⇦⇦



⇨⇨ แผนการจัดประสบการณ์วันพฤหัสบดี ⇦⇦



⇨⇨ แผนการจัดประสบการณ์วันศุกร์ ⇦⇦


💚แผนผังความคิด เรื่อง พืช💚
💗 Skills (ทักษะ)

               การเขียนแผนประสบการณ์ ควรมีรายละเอียดมากกว่านี้


💗 Apply (การนำมาประยุกต์ใช้)

               สามารถนำมาใช้สอนเกี่ยวกับเนื้อหาวิทยาศาสตร์ และการจัดทำแผนประสบการณ์ที่มีเทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆ จะทำให้เด็กเกิดความสนใจในเรื่องการเรียนการสอนมากขึ้น

💗  Technique (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

               การศึกษาหาความรู้ และการจัดทำแผนประสบการณ์ อาจารย์ได้ใฟ้คำแนะนำพร้อมชี้แนะในรายละเอียดการเขียนแผน

💗  Assessment (ประเมิน)

               our self (ตัวเอง) : ตั้งใจฟังอาจารย์และส่งงานตรงตามเวลาที่ได้ตกลงกันไว้
               Friend (เพื่อน) ทุกคนตั้งใจฟัง มีความร่วมมือในการส่งงานและการตอบคำถาม
               Teacher (อาจารย์) เน้นการมีส่วนร่วม  สอนมีความเข้าใจ  และใส่ใจนักศึกษา