สรุป
สื่อและตัวอย่างการสอน
👉แสงและการมองเห็น👈
แหล่ง : สื่อโทรทัศน์ครู
การสอนของเฮเลน แอกเคอร์แมน มีการวางแผน เตรียมความพร้อมในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้การเล่านิทานถึงหมีตัวเล็กที่กลัวความมืด มีความมืดอยู่รอบตัว เฮเลนมีการจัดกิจกรรมเชิงจินตนาการเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องแสง โดยการจัดสภาพแวดล้อมให้เสมือนจริงโดยมีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำให้เฮเลน กำหนดวัตถุประสงค์สำหรับกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้ชัดเจนแต่ให้เด็กมีโอกาสสำรวจค้นพบสิ่งต่างๆ หลังจากที่เฮเลนได้รับคำแนะนำเสร็จ ได้มีการจัดเตรียมสถานที่การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ พอเช้าวันถัดมาเด็กๆ ตื่นเต้นกับการเตรียมจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ของครูเฮเลนที่ได้จัดเตรียมถ้ำเสมือนจริงเพื่อทดลองกิจกรรมเรื่องแสง ต่อจากนั้นครูใช้คำถาม ถามเด็กๆ ว่า "มีอะไรช่วยให้เห็นในที่มืดเวลาอยู่ในถ้ำบ้าง" เด็กๆ บอกตะเกียง เรียกว่าแหล่งกำเนิดแสง ครูถามเด็กๆ อีกว่า "เคยอยู่ในที่มืดกันมาก่อนไหม" เพื่อให้เด็กใช้ประสบการณ์เดิมตอบคำถาม ขั้นตอนการสอนของครูเฮเลน คือ ตั้งเป็นขั้นตอนดังนี้ สำรวจค้นคว้า → คาดการณ์ → การทดลอง → ผลการทดลอง เด็กๆ จะได้ทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งแหล่งกำเนิดแสง ถ้ำมืด กล่องสว่าง ถ้ำเล็กๆ ที่ทำจากกล่องรองเท้าและกล่องเล่าเรื่องที่ใช้อุปกรณ์การแสดงและกระจก
เฮเลนแนะนำแนวคิดที่ว่า เราต้องการแสงเพื่อการมองเห็น โดยการใช้การสำรวจค้นคว้า 2 อย่าง คือ ถ้ำใหญ่และถ้ำกล่องรองเท้า เฮเลนให้เด็กๆ ค้นพบเรื่องแสงแหล่งกำเนิดแสงโดยใช้กล่องแสง โต๊ะกำเนิดแสง กล่องเล่าเรื่องและกิจกรรมทั้งหมดนี้เริ่มต้นจากความสนใจในนิทานของเด็ก
แสง (อังกฤษ: light) เป็นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในบางส่วนของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า คำนี้ปกติหมายถึง แสงที่มองเห็นได้ ซึ่งตามนุษย์มองเห็นได้และทำให้เกิดสัมผัสการรับรู้ภาพ แสงที่มองเห็นได้ปกตินิยามว่ามีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400–700 นาโนเมตร ระหวางอินฟราเรด (ที่มีความยาวคลื่นมากกว่าและมีคลื่นกว้างกว่านี้) และอัลตราไวโอเล็ต (ที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าและมีคลื่นแคบกว่านี้) ความยาวคลื่นนี้หมายถึงความถี่ช่วงประมาณ 430–750 เทระเฮิรตซ์
เฮเลนแนะนำแนวคิดที่ว่า เราต้องการแสงเพื่อการมองเห็น โดยการใช้การสำรวจค้นคว้า 2 อย่าง คือ ถ้ำใหญ่และถ้ำกล่องรองเท้า เฮเลนให้เด็กๆ ค้นพบเรื่องแสงแหล่งกำเนิดแสงโดยใช้กล่องแสง โต๊ะกำเนิดแสง กล่องเล่าเรื่องและกิจกรรมทั้งหมดนี้เริ่มต้นจากความสนใจในนิทานของเด็ก
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki
แสง (อังกฤษ: light) เป็นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในบางส่วนของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า คำนี้ปกติหมายถึง แสงที่มองเห็นได้ ซึ่งตามนุษย์มองเห็นได้และทำให้เกิดสัมผัสการรับรู้ภาพ แสงที่มองเห็นได้ปกตินิยามว่ามีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400–700 นาโนเมตร ระหวางอินฟราเรด (ที่มีความยาวคลื่นมากกว่าและมีคลื่นกว้างกว่านี้) และอัลตราไวโอเล็ต (ที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าและมีคลื่นแคบกว่านี้) ความยาวคลื่นนี้หมายถึงความถี่ช่วงประมาณ 430–750 เทระเฮิรตซ์
ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดแสงหลักบนโลก แสงอาทิตย์ให้พลังงานซึ่งพืชสีเขียวใช้ผลิตน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ในรูปของแป้ง ซึ่งปลดปล่อยพลังงานแก่สิ่งมชีวิตที่ย่อยมัน กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้ให้พลังงานแทบทั้งหมดที่สิ่งมีชีวิตใช้ ในอดีต แหล่งสำคัญของแสงอีกแหล่งหนึ่งสำหรับมนุษย์คือไฟ ตั้งแต่แคมป์ไฟโบราณจนถึงตะเกียงเคโรซีนสมัยใหม่ ด้วยการพัฒนาหลอดไฟฟ้าและระบบพลังงาน การให้แสงสว่างด้วยไฟฟ้าได้แทนแสงไฟ สัตว์บางชนิดผลิตแสงไฟของมันเอง เป็นกระบวนการที่เรียก การเรืองแสงทางชีวภาพ
คุณสมบัติปฐมภูมิของแสงที่มองเห็นได้ คือ ความเข้ม ทิศทางการแผ่ สเปกตรัมความถี่หรือความยาวคลื่น และโพลาไรเซชัน (polarization) ส่วนความเร็วในสุญญากาศของแสง 299,792,458 เมตรต่อวินาที เป็นค่าคงตัวมูลฐานหนึ่งของธรรมชาติ
ในวิชาฟิสิกส์ บางครั้งคำว่า แสง หมายถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในทุกความยาวคลื่น ไม่ว่ามองเห็นได้หรือไม่[1][2] ในความหมายนี้ รังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ ไมโครเวฟและคลื่นวิทยุก็เป็นแสงด้วย เช่นเดียวกับแสงทุกชนิด แสงที่มองเห็นได้มีการเแผ่และดูดซํบในโฟตอนและแสดงคุณสมบัติของทั้งคลื่นและอนุภาค คุณสมบัตินี้เรียก ทวิภาคของคลื่น–อนุภาค การศึกษาแสง ที่เรียก ทัศนศาสตร์ เป็นขอบเขตการวิจัยที่สำคัญในวิชาฟิสิกส์สมัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น