Pink Hair Girl, Cute

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Recorded Diary 11


Friday  26 October 2018
Time 08:30 - 12:30 o'clock





💗 The Knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

           วันนี้อาจารย์ให้นำเสนคลิปวิดีโอการทดลองวิทยาศาสตร์ของตัวเองและเพื่อนๆ ใหห้ดู และอาจารย์ได้อธิบาย ปรับให้ตามที่ดูคลิปของแต่ละคน เพื่อนำไปปรับปรุง และปรับใช้ในการสอนครั้งต่อไปในดีขึ้นจนสมบูรณ์แบบ

1. นางสาวปรางทอง     สุริวงษ์     นำเสนอการทดลอง เรื่อง เปิดปิด สวิตช์มีหน้าที่ทำอะไร ?


ประเด็นปัญหา ⏩ อะไรทำให้ไฟติดได้บ้าง?
สมมติฐาน⏩ ถ้าเลื่อนสวิตช์ไปมาจะเกิดอะไรขึ้น
ทดลองโดย ⇨ นำสายไฟชนิดปากหนีบจระเข้มาต่อเข้ากับถ่านและใช้กระดาษลูกฟูกมาเป็นฐานให้กับหมุดที่จะใช้สวิตช์เลื่อนไปมาเพื่อสังเกตว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเลื่อนสวิตช์มาที่หัวหมุด และจะทำให้หลอดไฟติดขึ้น เมื่อเลื่อนสวิตช์ออกจากหัวหมุดจะทำให้หลอดไฟไม่ติด 
สรุป  ➱ ถ้าสวิตช์เปิด ไฟติด ถ้าสวิตช์ปิด ไฟดับ แสดงว่าไฟฟ้าจะไหลครบวงจรเมื่อสวิตช์เปิด


2. นางสาวบงกชกมล     ยังโยมร     นำเสนอการทดลอง เรื่อง ถั่วเขียวเต้นระบำ 



ประเด็นปัญหา⏩ จะทำอย่างไรให้ถั่วเขียวลอยขึ้นมา ?
สมมติฐาน⏩ ถ้าเอาน้ำต่างๆ มาเทใส่ถั่วเขียวจะเกิดอะไรขึ้น
ทดลองโดย ⇨ 1. นำถั่วเขียวเทลงในแก้วที่มีน้ำเปล่า    สังเกต    ถั่วเขียวไม่ลอย
                          2. นำถั่วเขียวเทลงในแก้วที่มีน้ำโซดา    สังเกต    ถั่วเขียวลอย
สรุป  ➱  น้ำโซดาทำให้ถั่วเขียวลอยขึ้น เพราะในน้ำโซดามีฟองซ่า ที่เรียกว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์


3. นางสาวมารีน่า     ดาโร๊ส     นำเสนอการทดลอง เรื่อง คาร์บอนไดออกไซด์


กระตุ้นสมมติฐาน ถ้าเอาแก้วครอบเทียนจะเกิดอะไรขึ้น ?
สมมติฐาน ถ้าเอาแก้วครอบเทียนไฟจะดับ
ทดลองโดย ⇨ 1. นำน้ำเทใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้
                         2. นำเทียนมาวางไว้ตรงกลางภาชนะที่ใส่น้ำ
                         3. น้ำแก้วน้ำมาครอบ   สังเกตการเปลี่ยนแปลง
สรุปควันคือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาแทนที่อากาศออกซิเจน ทำให้เทียนในแก้วกับเพราะขาดออกซิเจน

4. นางสาวสุภาภรณ์     วัดจัง     นำเสนอการทดลอง เรื่อง ไฟฟ้าสถิต



กระตุ้นสมมติฐานถ้าเอาลูกโป่งมาถูที่ศีรษะและแตะที่กระดาษจะเกิดอะไรขึ้น ?
สมมติฐาน ถ้าเอาลูกโป่งมาถูที่ศีรษะจะทำให้กระดาษเลื่อน
การทดลอง ⇨ นำลูกโป่งมาถูที่ศีรษะและนำไปวางใกล้ๆกระดาษ ทำให้กระดาษเคลื่อนที่เป็นเพราะแรงที่ลูกโป่งไปทำให้กระดาษเลื่อน
สรุปการที่นำลูกโป่งไปเสียดสีกับสิ่งที่เป็นฉนวนจะทำให้เกิด "ไฟฟ้าสถิต"


5. นางสาวอุไรพร     พวกดี     นำเสนอการทดลอง เรื่อง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยดับไฟ


ประเด็นปัญหา ถ้าเทน้ำมะนาวใส่เบกกิ้งโซดาจะเกิดอะไรขึ้น ?
กระตุ้นสมมติฐาน ถ้าเอาเบกกิ้งโซดาใส่จะเกิดอะไรขึ้น
สมมติฐาน ถ้าเอาน้ำมะนาวเทใส่เบกกิ้งโซดาจะทำให้ไฟดับ
การทดลอง ⇨ ตักเบกกิ้งโซดา 2 ช้อนลงในภาชนะตั้งเทียนไว้ตรงกลางภาชนะที่มีเบกกิ้งโซดา จุดไฟแล้วเทน้ำมะนาวลงในภาชนะที่มีเบกกิ้งโซดาโดยที่ไม่โดนเทียน แล้วสังเกตว่าไฟดับหรือไม่
สรุปเมื่อเทน้ำมะนาวลงในเบกกิ้งโซดาทำปฎิกิริยากันทำให้เกิด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยทำให้ไฟดับ


6. นางสาวณัฐชา     บุญทอง     นำเสนอการทดลอง เรื่อง กระแสไฟฟ้า


ประเด็นปัญหา กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอะไรได้บ้าง ?
สมมติฐาน ถ้านำวัสดุต่างๆ เข้ามาต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าจะเกิดอะไรขึ้น
ทดลองโดย ⇨ นำวัสดุต่างๆ ที่เป็นทั้งโลหะ เช่น เหรียญ ไส้ดินสอ ช้อน และวัสดุที่ไม่เป็นโลหะ เช่น กระดาษ พลาสติก ยาง มาต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้า แล้วสังเกตว่าหลอดไฟติดหรือไม่ติด
สรุปเมื่อต่อวัสดุเข้ากับวงจรไฟฟ้าแล้วไฟคิดเป็นเพราะวัสดุชิ้นนั้นเป็นโลหะ กีะแสไฟฟ้าไหลครบวงจร  ถ้าไฟไม่ติดแสดงว่าวัสดุนั้นไม่เป็นโลหะ เรียกว่า อโลหะ ไฟฟ้าจึงไม่สามารถไหลผ่านได้


7. นางสาวสุจิณณา     พาพันธุ์     นำเสนอการทดลอง เรื่อง การหักเหของน้ำ
ประเด็นปัญหา เราจะทำให้สายน้ำเปลี่ยนทิศทางได้อย่างไรบ้าง ?
สมมติฐาน ถ้าเอาผ้าขนสัตว์ไปถูกับช้อนพลาสติกจะทำให้น้ำหักเห
การทดลอง ⇨ นำน้ำใส่ในขวดที่เจาะรูไว้ หลังจากนั้นนำผ้าขนสัตว์มาถูกับช้อนพลาสติกจนพอที่จะทำให้น้ำเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ได้ แล้วนำช้อนไปจ่อใกล้ๆ กับน้ำที่ไหลออกจากขวด สังเกตว่าน้ำเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่
สรุปการหักเหของน้ำเกิดจากที่มีแรงดันมาผลักดัน ทำให้น้ำเปลี่ยนทิศทาง

⏩⏩โดยกระบวนการทดลองต้องตั้งคำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กได้ตั้งสมมติฐาน 
และขั้นตอนการทดลองต้องบอกให้เด็กๆ สังเกตทุกครั้ง⏪⏪

💗 Apply (การนำมาประยุกต์ใช้)

          นำทักษะ กระบวนการไปสอนเด็กๆ ในเรื่องวิทยาศาสตร์ได้ถูกต้องและทำให้เด็กเกิดความเข้าใจมากที่สุด

💗 Skill (ทักษะ)

          การทดลองวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดการพูดและการเรียงลำดับขั้นตอนในการปฎิบัติได้ถูกต้อง

💗 Techniques (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

          อาจารย์ ได้ให้นักศึกษาคิดกระบวนการต่างๆ และไปนำเสนอเพื่อให้เกิดความชำนาญ และเวลานำไปใช้จริงกับเด็กๆ จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

💗 Assessment (การประเมิน)

          Our self : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูด
          Friend : ทุกคนตั้งใจฟังบ้าง และคุยกันในห้องบ้าง
          Teacher : อาจารย์ได้อธิบายการนำเสนอที่ถูกวิธีได้ละเอียด


วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Recorded Diary 10


Friday  19 October 2018
Time 08:30 - 12:30 o'clock


💗 The Knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)
          
          หลังจากจบกิจกรรมการนำเสนอการทดลอง อาจารย์ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่มที่ได้จัดไว้แล้วร่วมกันเลือกการทดลองของเพื่อนในกลุ่มมา 1 เรื่อง เพื่อจะจัดเป็นฐานกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ โดยมีขั้นตอนการวางแผน ดังนี้


💟💟 ฐานการทดลองวิทยาศาสตร์ 💟💟

                                                                 1. คิดชื่อฐานกิจกรรม
                                                                 2. ข้อความรู้
                                                                 3. ประเด็นปัญหา
                                                                 4. สมมติฐาน
                                                                 5. วัตถุประสงค์
                                                                 6. สื่อและอุปกรณ์
                                                                 7. ขั้นตอนการทดลอง
                                                                 8. วิธีการประเมิน



"ฐาน ติด ดับ จับ ต่อ" 

⏩ ข้อความรู้ : ทำไมเราสามารถจับสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยไม่ถูกไฟฟ้าดูด เพราะสายไฟถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็น  ฉนวน  ซึ่งไฟฟ้าไหลผ่านไม่ได้  กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเฉพาะลวดโลหะที่อยู่ภายในซึ่งเราไม่ได้สัมผัส

⏩ ประเด็นปัญหา :  กระแสไฟฟ้าไหลผ่านวัสดุอะไรได้บ้าง

สมมติฐาน :  ครูนำวัสดุแต่ละอย่างมาเชื่อมต่อในวงจรไฟฟ้า เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น

วัตถุประสงค์ :  1. เด็กๆ รู้ว่าแหล่งกำเนิดไฟฟ้าคืออะไร
                                 2. เด็กสามารถแยกวัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้าและไม่นำไฟฟ้าได้

สื่อและอุปกรณ์ :  1.หลอดไฟฟ้า 6 V.  0.6 W.
                                     2.ถ่านไฟฉาย 4.5 V.
                                     3.สายไฟชนิดตัวหนีบปากจระเข้
                                     4.ตะกร้าใหญ่ 2 ใบ ตะกร้าเล็ก 4 ใบ
                                     5.ป้ายกระดาษ
                                     6.วัสดุที่นำมาทดลอง
                                       ⇨ ปากกา   กรรไกร   แก้วพลาสติก   ไม้ตะเกียบ   นาฬิกา   ดินสอ   ลูกโป่ง

ขั้นตอนการทดลอง
1. นำวัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้าและไม่นำไฟฟ้าใส่รวมในตะกร้าใหญ่เพื่อให้เด็กๆ หยิบมาทำการทดลอง
2. นำสายไฟชนิดตัวหนีบปากจระเข้ทั้ง 3 สายมาต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าแล้วตรวจสอบดูว่าหลอดไฟสว่างหรือไม่
3. แบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆ กันให้เด็กแต่ละคนหยิบวัสดุมาต่อเข้ากับสายไฟชนิดปากหนีบจระเข้คนละ 1 ชนิด สังเกตดูว่าหลอดไฟติดสว่างหรือไม่
4. ถ้าหลอดไฟติด วัสดุนั้นจะเป็นตัวนำไฟฟ้า แต่ถ้าหลอดไฟไม่ติดวัสดุนั้นจะไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า เรียกว่า ฉนวนไฟ้า
5. หลังจากทดลองเสร็จเด็กๆ แยกวัสดุใส่ในตะกร้าใบเล็ก

วิธีการประเมิน 

1. สังเกตว่าเด็กสามารถแยกวัสดุนำไฟฟ้า และ วัสดุที่ไม่นำไฟฟ้าได้ถูกต้องหรือไม่
2. การ ถาม - ตอบ การตั้งคำถามปลายเปิดให้เด็กตอบคำถาม
                              ⇨ ไฟฟ้าไหลผ่านอะไรได้บ้าง
3. หยิบวัสดุที่เป็นสื่อแบบแกะออกได้ให้เด็กออกมาติดในสื่อที่เตรียมไว้เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของเด็กอีกครั้ง

ภาพกิจกรรม





💗  (Skill) ทักษะ

          การสอนอะไรก็ตามกับเด็กควรมีการเรีนงลำดับเป็นขั้นตอนเพื่อท่เด็กจะได้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดี ตรงตามพัฒนาการ

💗 Apply (การนำมาประยุกต์ใช้)

          การสอนที่เป็นลำดับขั้น มีการสอนที่เรียงลำดับความถูกต้องของหลักการตามเนื้อหาจะช่วยทำให้เราพูดได้อย่างที่ต้องการ อาจารย์จินตนา สอนการพูด และแนะนำการพูดให้มีความชัดเจน

💗 Technique (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

           การสอนที่เป็นลำดับขั้น มีการสอนที่เรียงลำดับความถูกต้องของหลักการตามเนื้อหา และการที่จะทำกิจกรรมแต่ละอย่างต้องมีความชัดเจนและการจัดลำดับที่เป็นขั้นเป็นตอน เรียงคำพูดให้ถูกต้องและรายละเอียดที่ชัดเจน



💗 Assessment (การประเมิน)

               our self :  มีความเข้าใจ ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมในห้องเรียน
               friend :  ตั้งใจเรียน และมีส่วนร่วมในห้องเรียง การตอบตำถามอย่างดี
               Teacher :  มีความตั้งใจในการสอน เข้าใจรู้เรื่อง พูดได้ชัดเจนและมีรายละเียดที่ครบถ้วน
                classroom :  อาจจะเมื่อยในตอนที่เขียนหนังสือ อยากให้ห้องมีโต๊ะเขียนหนังสือ

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Recorded Diary 9


Friday  12 October 2018
Time 08:30 - 12:30 o'clock


💗 The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

              กิจกรรมวันนี้   การการนำเสนอทดลองบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
⏭⏭  บันทึกการทดลองของเพื่อน  ⏮⏮

               1. นางสาวอรอุมา  ศรีท้วม
                    ทดลองเรื่อง   ปริมาณน้ำ



การทดลองโดย  ขั้นที่ 1  นำแก้วทั้ง 4 ใบ ที่มีความสูงต่างกันมาวางเรียง เทน้ำใส่แก้วทั้ง 4 ใบในปริมาณเท่ากัน
                                   ขั้นที่ 2  ครูถามเด็กๆ ว่าแก้วน้ำทั้ง 4 ใบ เท่ากันหรือไม่หรือเท่ากัน ขึ้นอยู่กับความคิดของเด็กจากประสบการณ์เดิมและความคิดรวบยอด
สรุปการทดลอง  เด็กๆเรียนรู้จากสิ่งที่เห็น ได้มีส่วนร่วมในการทดลองโดยออกมาตักน้ำใส่แก้วได้สังเกตปริมาณน้ำในแต่ละแก้วที่เติมลงไป ได้เรียนรู้จากสิ่งที่เห็น ถ้าเด็กใช้เหตผลในการตอบ ก็แสดงว่าเด็กได้ผานขั้นอนุรักษ์ไปแล้ว



               2. นางสาวณัฐธิดา   ธรรมแท้
                    ทดลองเรื่อง   น้ำมะนาวโซดา


ทดลองโดย  ขั้นที่ 1 นำเบกกิงโซดา น้ำมะนาว และน้ำผสมกัน ในปริมาณที่เหมาะสมลงในแก้ว
                           ขั้นที่ 2 ใส่น้ำหวานลงไป คนให้เข้ากัน เพื่อทำน้ำมะนาวโซดา
                           ขั้นที่ 3 ให้เด็กๆออกมาชิมรสาติและบอกว่าเป็นอย่างไร
สรุปการทดลอง   เมื่อนำเบกกิงโซดาผสมน้ำมะนาว และน้ำหวานจะได้น้ำมะนาวโซดาที่แสนอร่อย คือผงมะนาว 1 ช้อน ต่อเบกกิงโซดาเพียงเล็กน้อย การใส่น้ำหวานเป็นการเพิ่มรสชาติที่ดี ทำให้ไม่ต้องเติมน้ำตาล


💗 Skills (ทักษะ)

               การแก้ไขสิ่งต่างๆที่นักศึกษาบกพร่อง ให้สอนอย่างเป็นลำดับขั้น ให้สอดคล้องกับการพัฒนาเด็กให้มีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย การใช้ถ้อยคำในการพูดและการรับมือกับเด็ก


💗 Apply (การนำมาประยุกต์ใช้)

                เป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ในการจัดวิชาวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัยให้เด็กเรียนรู้และเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน

💗  Technique (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

               หาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องที่ได้รับมอบหมาย ฝึกการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการนำเสนอ และควรมีสติกับตัวให้มากๆ

💗  Assessment (ประเมิน)

               our self (ตัวเอง) : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจจดบันทึก
               Friend (เพื่อน) ตั้งใจฟัง  นำเสนอได้ดี
               Teacher (อาจารย์) เน้นการมีส่วนร่วม  สอนมีความเข้าใจ  และใส่ใจนักศึกษา